วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ Blog เรื่องพัฒนาการทางคอมพิวเตอร์






จัดทำโดย
   ด.ญ.ศศิประภา  ดำแดง เลขที่ 38  ชั้น ม.3/6
ด.ญ.ปิยะรัตน์  ก๊งจิตร  เลขที่ 32 ชั้น ม.3/6  

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

กฎระเบียบการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

        กฎระเบียบการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

ประกาศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


เรื่อง กฎระเบียบการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
และระเบียบการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย


เพื่อให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและ เกิดประโยชน์สูงสุด สถาบันฯ จึงประกาศใช้กฎ ระเบียบการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายและกฎระเบียบการเชื่อมต่อ เครือข่ายภายใน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
หมวดที่ 1 บททั่วไป

"สถาบัน ฯ" หมายถึง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
"สำนัก ฯ" หมายถึง สำนักบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
“เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย" หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสมบัติของสถาบันฯ ทั้งที่อยู่ภายใน และ ภายนอกส่วนกลาง รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ตลอดจนอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ภายในสถาบันฯ
"หน่วยงาน" หมายถึง คณะและสำนักต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ในคณะและสำนักฯ ภายในสถาบันฯ
"ผู้ใช้งาน" หมายถึง อาจารย์ ข้าราชการ ลูกจ้าง นักศึกษา หรือผู้ที่สถาบันฯ อนุญาตให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายได้
"บทลงโทษ" หมายถึง บทลงโทษที่สถาบันฯ เป็นผู้กำหนด หรือบทลงโทษตามกฏหมาย
หมวดที่ 2 กฎระเบียบการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
1. ห้ามผู้ใช้งานปฎิบัติการใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่เป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีแห่งสาธารณชน โดยผู้ใช้งานรับรองว่าหากมีการกระทำการใด ๆ ดังกล่าว ย่อมถือว่าอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของสถาบันฯ
2. สถาบันฯ ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานทำการใด ๆ ที่เข้าข่ายลักษณะเพื่อการค้าหรือการแสวงหาผลกำไรผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย เช่น การประกาศแจ้งความ การซื้อหรือการจำหน่ายสินค้า การนำข้อมูลไปซื้อขาย การรับบริการค้นหาข้อมูลโดยคิดค่าบริการ การให้บริการโฆษณาสินค้าหรือการเปิดบริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไปเพื่อแสวงหากำไร
3. ผู้ใช้งานจะต้องไม่ละเมิดต่อผู้อื่นกล่าวคือ ผู้ใช้งานจะต้องไม่อ่าน เขียน ลบ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขใด ๆ ในส่วนที่มิใช่ของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต การบุกรุก (hack) เข้าสู่บัญชีผู้ใช้งาน (user account) ของผู้อื่น หรือเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสถาบันหรือหน่วยงานอื่นๆ การเผยแพร่ข้อความใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายเสื่อมเสียแก่ผู้อื่น การใช้ภาษาไม่สุภาพหรือการเขียนข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นทั้งสิ้น ผู้ใช้งานจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว สถาบันฯ ไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว
4. เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของสถาบันฯ เป็นสมบัติของทางราชการ ห้ามผู้ใดเข้าใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต การบุกรุกหรือพยายามบุกรุกเข้าสู่ระบบถือว่าเป็นการพยายามรุกล้ำเขตหวงห้ามของทางราชการ ต้องได้รับโทษจากทางสถาบันฯ และรับโทษตามกฎหมาย
5. สถาบันฯ จะไม่ควบคุมเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่เก็บและรับส่งผ่านเข้าออกเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันฯ และจะไม่รับประกันในคุณภาพของการเก็บ การรับส่งข้อมูลข่าวสาร และการไม่สามารถใช้งานได้ของระบบบางส่วนหรือทั้งหมด และจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายของการใช้งานอันเนื่องมาจากวงจรสื่อสารชำรุด จานแม่เหล็กชำรุด ความล่าช้า แฟ้มข้อมูลหรือจดหมายส่งไปไม่ถึงปลายทาง หรือส่งผิดสถานที่ และความผิดพลาดในข้อมูลหรือความเสียหายอันเกิดจากการล่วงละเมิดโดยผู้ใช้งานอื่น ๆ
6. สถาบันฯ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะปฏิเสธการเชื่อมต่อและ/หรือการใช้งาน และทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกหรือระงับการเชื่อมต่อและ/หรือการใช้งานใด ๆ ของผู้ใช้งานที่ล่วงละเมิดหรือพยายามจะล่วงละเมิดกฏระเบียบนี้ของสถาบันฯ
7. ผู้ใช้งานต้องยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขในการรับทราบกฎระเบียบหรือนโยบายต่าง ๆ ที่สถาบันฯ กำหนดขึ้น โดยจะอ้างว่าไม่ทราบกฎระเบียบหรือนโยบายของสถาบันฯ มิได้
8. สถาบันฯ ให้บัญชีผู้ใช้งาน (User Account) เป็นการเฉพาะบุคคลเท่านั้น ผู้ใช้งานจะโอน จำหน่าย หรือจ่ายแจกสิทธินี้ให้กับผู้อื่นไม่ได้
9. บัญชีผู้ใช้งาน (User Account) ที่สถาบันฯ ให้กับผู้ใช้งานนั้น ผู้ใช้งานต้องเป็นผู้รับผิดชอบผลต่าง ๆ อันอาจจะเกิดมีขึ้น รวมถึงผลเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจาก บัญชีผู้ใช้งาน (User Account) นั้น ๆ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าผลเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำของผู้อื่น
10. ผู้ใช้งานสัญญาว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไข/กฎ/ระเบียบ/คำแนะนำที่สถาบันฯ กำหนดไว้ และที่จะกำหนดขึ้นในอนาคตตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
หมวดที่ 3 กฎระเบียบการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
1. ให้ผู้ซึ่งต้องการนำอุปกรณ์มาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ติดต่อขอคำปรึกษาวิธีดำเนินการและกฏระเบียบข้อกำหนดกับสำนักฯ และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อกำหนดโดยเคร่งครัด เพื่อให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานสากล และไม่เกิดผลกระทบกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนรวมของสถาบันฯ
2. การขออนุญาตใช้งานเครือข่ายย่อยหมายเลขไอพี (Subnet ) และชื่อโดเมน (Domain Name) ของหน่วยงานใด ๆ หน่วยงานนั้นจะต้องทำหนังสือขออนุญาต ส่งผ่านหน่วยงานต้นสังกัดมายังสำนักฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการ
3. สถาบันฯ ไม่อนุญาตให้บุคคลใดกระทำการเคลื่อนย้าย หรือทำการใดๆ ต่ออุปกรณ์ส่วนกลางโดยพลการ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ส่วนกลางและระบบเครือข่ายของสถาบันฯ ได้ และการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานละเมิดหรือทำลายทรัพย์สินของราชการ
4. การนำเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้รับผิดชอบเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องทำการลงทะเบียนเครื่องดังกล่าวกับสำนักฯ อันได้แก่ การขอใช้ชื่อและหมายเลขประจำเครื่อง เช่น หมายเลขไอพี เป็นต้น กรณีที่ผู้รับผิดชอบเป็นชมรมหรือนักศึกษาใดๆ ที่สังกัดคณะในสถาบันฯ ให้ทำเรื่องผ่านคณะมายังสำนักฯ เพื่อรับรองในการลงทะเบียนนั้น
5. ในกรณีที่สำนักฯ ตรวจสอบพบว่าเครือข่ายย่อยใดก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบเครือข่ายของสถาบันฯ สำนักฯ อาจจะจัดการหยุดให้บริการจากอุปกรณ์ของส่วนกลางโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าจนกว่าจะมีการแก้ไข ให้ทำงานได้เป็นปกติก่อน
6. เพื่อให้บริการการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายระยะไกลหรือระบบโมเด็ม (Modem) ของสถาบันฯ เป็นไปได้อย่างทั่วถึง สำนักฯ กำหนดให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับระบบโมเด็มได้หนึ่งการเชื่อมต่อในขณะเวลาเดียวกัน หากฝ่าฝืนจะงดการให้บริการแก่ผู้ใช้งานนั้น
หมวดที่ 4 บทลงโทษ
หากผู้ใช้งานไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น หรือต่อสมบัติของทางราชการ จะต้องรับโทษตามบทลงโทษต่อไปนี้
1. โทษขั้นต้น ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นเวลา 30 วัน
2. โทษขั้นกลาง ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา
3. โทษขั้นสูง ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นเวลา 1 ปี
4. โทษขั้นร้ายแรง ระงับสิทธิการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายตลอดไป และหากการ ละเมิดฝ่าฝืนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือต่อทรัพย์สินทั้งของทาง ราชการอย่างร้ายแรง จะต้องรับโทษตามระเบียบสถาบันฯ หรือรับโทษ ตามกฎหมายโดยลำดับต่อไป 

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

         ในยุคปัจจุบันไม่ว่า จะที่ไหน เรามักจะมองเห็นเจ้าคอมพิวเตอรเป็นหัวใจหลักในการทำงาน หลายๆคนคงทำงานไม่ได้หากไม่มีคอมพิวเตอร์ วันนี้โซนซ่าจะมาขอพูดถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอรและความสำคัญของมันให้เราได้รู้กัน
คอมพิวเตอร์
บทความโดย www.zoneza.com  
        คุณทราบไหมว่า คำว่า คอมพิวเตอร์ มีการเริ่มใช้กันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1613 ตั้งแต่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำไป และไม่ได้ใช้กับเจ้า คอมพิวเตอร์ที่เรารู้จัก หากแต่ใช้กับคน ที่มีความสามารถด้านการคำนวน หรือ คาดการณ์ เห็นหรือยังว่ามันมีประโยชน์ข้อแรกคืออะไร เพราะเจ้าคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ด้านการคำนวน เลยใช้ชื่อว่า คอมพิวเตอร์ ที่เหมือนคำที่เริ่มใชกับคนที่เก่งเรื่องการคำนวนยังไงล่ะ
         คุณทราบไหมว่าคอมพิวเตอร์ตามภาษาไทย เรียกว่า "คณิตกรณ์" โดยใน พจนานุกรม ศัพท์คอมพิวเตอร์ ของไทย ระบุเกี่ยวกับกับ คณิตกรณ์ เอาไว้ว่า
อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้
ทำให้สามารถทำงานไปได้โดยอัตโนมัติ ด้วยความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณ หรือการทำงานต่างๆ ได้เกือบทุกชนิด มี 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (Main Frame) ขนาดกลาง (Mini Computer) และขนาดเล็ก (Micro Computer) ซึ่งเป็นขนาดที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้
     คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้น มีชื่อที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer - PC)
ปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นที่ค้นหาข้อมูลต่างๆรวมทั้งใช้ในการสื่อสารได้ นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อการคำนวณ ตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของผู้ประดิษฐ์

เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า แล้วเจ้าคอมพิวเตอร์มันมีประโยชน์อะไรบ้างนะ

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. ประโยชน์ทางด้านการศึกษา คอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างมากในด้านการศึกษาเช่น
       -  สำหรับ เป็นอุกรณ์ ในการค้นหาข้อมูล (ใช้คู่กับระบบเครื่อข่าย Internet) 
       -  การศึกษาออนไลน์
       -  การเก็บข้อมูลด้านการศึกษา จะเห็นได้ว่ายุคปัจจุบัน มีการเก็ขข้อมูลการศึกษาผ่านคอมพิวเตอร์ เพราะหากมีคอมพิวเตอร์แล้ว ต้นทุนการเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากๆ จะถูกกว่าการทำหนังสือ และง่ายต่อการแจกจ่ายความรู้ ดังจะเห็นได้จากระบบ e-learning ที่มีการแบ่งปั่นข้อมูลด้านการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

2. การใช้งานทางภาครัฐ คอมพิวเตอร์เริ่มมีบทบาทอย่างมากในภาครัฐ เพราะเป็นสือเก็บและแจกจ่ายข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ทะเบียนราษฎร์ ข้อมูลเกี่ยวกับ ทะเบียนรถ , ประวัติ ประวัติอาชญากร , ระบบประกันสังคม , เก็บข้อมูลงานดและอื่นๆอีกมากมาย
3. ประโยชน์ทางด้านธุระกิจ ในทางด้านธุระกิจ ในปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย และ สำคัญไม่แพ้ด้านอื่นๆ ตัวอย่างของความสำคัญของคอมพิวเตอรในด้านธุระกิจคือ
       -  สถาบันการเงิน การออนไลน์ระบบ ATM การเก็บข้อมูลของลูกค้า
       -  สายการบิน เก็บข้อมูล , สำรองที่นั่งผ่านการเชื่อต่อจากอินเตอร์เน็ต

4. เพื่อความบันเทิง การเข้าสู้ระบบอินเตอร์เน็ต เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง และอื่นอีกมากมาย
         นี้เป็นเพียงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆที่ยกมาให้เห็นถึงประโยชน์ของมันกัน การใช้งานคอมพิวเตอร์ เราควรใช้ประโยชน์ของมันให้คุ้มค่า อย่าใช้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง หลายคนใช้คอมพิวเตอร เพียงแค่ความบันเทิง หากมากจนเกินไปอาจเป็นข้อเสีย จงใช้งานมัน ให้เกิดประโยชน์อย่าใช้สิ่งที่มีประโยชนมากมาย แต่เป็นโทษต่อตัวเอง เพราะใช้ผิดวิธี

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
          คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งเราจะมาทำความรู้กับ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ กันครับ

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
          1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          4.หน่วยความจำ (Memory Unit)

1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันอุปกรณ์มากมายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
          - Keyboard (คีย์บอร์ด)
          Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
1.Keyboard

          - Mouse (เมาส์)
          Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)
2.Mouse

          - Scanner (สแกนเนอร์)
          สแกนเนอร์ คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
3.Scanner

          - Webcam (เว็บแคม)
          เว็บแคมหรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
4.Webcam

          - Microphone (ไมโครโฟน)
          ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง
5.Microphone

          - Touch screen (ทัชสกรีน)
          ทัชสกรีน คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล มักนำไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นำนิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กดลงบนตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ
6.Touch-Screen

2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะขาดไม่ได้เลยคือหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลางนั้นประกอบไปด้วย
          1. หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
          2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
          3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
7.CPU

3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
          3.1) หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึง การแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
          - จอภาพ (Monitor)
8.Monitor

          - อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
9.Projector

          - อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
10.Speaker

          3.2) หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึง การแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
          - เครื่องพิมพ์ (Printer)
11.Printer

          - เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
12.Plotter

4.หน่วยความจำ (Memory Unit)
          หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
          4.1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                   4.1.1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
           โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
13.Rom-Bios

                   4.1.2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
           ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
14.Ram

          4.2) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
          สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
                   4.2.1) แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
15.Harddisk

                   4.2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
16.CD-DVD

                   4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
17.DAT-QIC

                   4.2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา
18.Flash-Drive

[แก้]


ประวัติผู้สร้างคอมพิวเตอร์คนแรกของโลก

ประวัติผู้สร้างคอมพิวเตอร์คนแรกของโลก

       ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
       ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
       ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
       ค.ศ. 1948 Frederic Williams และ Tom Kilburn สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ หลอดรังสีคาโทด เป็นหน่วยความจำ
       ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
       ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
       ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
       ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
       ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
       ค.ศ. 1958 Jack Kilby และ Robert Noyce เป็นผู้สร้าง Integrated Circuit หรือ ชิป(Chip) เป็นครั้งแรก
       ค.ศ. 1962 สตีฟ รัสเซลล์ และ เอ็มไอที ได้พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกของโลกชื่อว่า "Spacewar"
       ค.ศ. 1964 Douglas Engelbart เป็นผู้ประดิษฐ์เมาส์ และ ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์
       ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
       ค.ศ. 1970 อินเทล พัฒนาหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์หรือ RAM เป็นครั้งแรก
       ค.ศ. 1971 Faggin, Hoff และ Mazor พัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกให้อินเทล (Intel)
       ค.ศ. 1971 Alan Shugart และ IBM พัฒนา ฟลอปปี้ดิสก์ เป็นครั้งแรก
       ค.ศ. 1973 Robert Metcalfe และ Xerox ได้พัฒนาระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
       ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
       ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
       ค.ศ. 1983 บริษัทแอปเปิล ออกคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ระบบ GUI
       ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายคอมพิวเตอร์รุ่น แอปเปิล แมคอินทอช ซึ่งทำให้มีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง
       ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ วางจำหน่าย ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เป็นครั้งแรก